บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความหมาย
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น ความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ต่อต้าน เสียงดัง พูดหยาบคาย
- กลุ่มบุคคลผิดปกติ ชอบเก็บตัว ขาดความมั่นใจ กัดเล็บ เงียบเฉย ไม่พูด มองโลกในแง่ร้าย
- กลุ่มขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว งุ่มง่าม เฉื่อยชา สกปรก ขาดความรับผิดชอบ
- กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ชอบหนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี ต่อต้านผู้มีอำนาจ ชอบเที่ยวกลางคืน
เกณฑ์การตัดสินเป็นเด็กที่แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะได้รับบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษาแล้วก็ตามก็ยังมีปัญหาทางอารมณ์อยู่ในลักษณะเดิม
การประเมินผลทางจิตวิทยาและการสังเกตอย่างมีระบบ ระบุว่าเด็กมีปัญหาในทางพฤติกรรมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานมีพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของตน การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ พัฒนาการทาสังคม พัฒนาการทางภาษาและการควบคุมพฤติกรรมของตนเองมีหลักฐานอื่นยืนยันว่าปัญหาของนักเรียนมิได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย การรับรู้และสติปัญญา
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
- ก้าวร้าว ก่อกวน
- การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
- การปรับตัวทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การหนีโรงเรียน
- การทำลายสาธารณสมบัติ
- การลักขโมย การประทุษร้ายทางเพศ
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน
- ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันและปฏิบัติตาม
- ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
- ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามกฎหากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
- ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป
- ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ
- ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมหรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงในกระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงในภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
- ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก และกำลังได้รับความสนใจจากทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ได้แก่
1. เด็กสมาธิสั้น
2. เด็กออทิสติก
ตัวอย่าง
สมาธิสั้น Attention Deficit / Hyperactivity Disorder
ปัญหาการเรียน ถ้าสามารถหาสาเหตุและได้รับการจัดการแก้ไขในแนวทางที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ และเหมาะสมตามวัย
โรคสมาธิสั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายเช่นกัน เนื่องจาก “ สมาธิ ” เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวัน
ลักษณะอาการ
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD) เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุ และระดับพัฒนาการ เป็นก่อนอายุ 7 ปี แสดงออกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการเรียน โดยมีอาการหลักอยู่ 3 อาการ คือ 1. อาการสมาธิสั้น (Inattention)
1) มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ
2) มักวอกแวกง่าย ตามสิ่งเร้าภายนอก
3) ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
4) ทำตามคำสั่งไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
5) หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม
6) ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ
7) มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
8) ทำของหายบ่อยๆ
9) มักลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ 2. อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
1) ยุกยิก ขยับตัวไปมา
2) นั่งไม่ติดที่ มักต้องลุกเดินไปมา
3) มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
4) ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้
5) เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา
6) พูดมากเกินไป 3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
1) มีความยากลำบากในการรอคอย
2) พูดโพล่งขึ้นมา ก่อนถามจบ
3) ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ในวงสนทนาหรือในการเล่นสาเหตุ
โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เช่น dopamine, norepinephrine, serotonin ฯลฯ ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้เด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม
จากผลการศึกษาส่วนใหญ่ เชื่อว่าโรคนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กอื่นๆ ถึง 4 เท่า
นอกจากนี้ การที่ พ่อแม่ ติดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด หรือมีโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ก็เชื่อว่าเป็นสาเหตุได้เช่นกันสาเหตุต่าง ๆ ที่จะทำให้บุคคลมีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1. อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือ ความผิดปกติทางกายภาพอื่น ๆ
2. สาเหตุทางจิตวิทยา เป็นสาเหตุเฉพาะตัวบุคคล อาจไม่สามารถปรับอารมณ์และปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้
3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เช่นคนอื่น สภาพครอบครัวไม่อบอุ่น แตกแยกขาดความสุข การอบรมเลี้ยงดู ขาดการเอาใจใส่หรือรังเกียจ เด็กมีความคับข้องใจมีความเก็บกดทางอารมณ์ตั้งแต่เกิด ปล่อยให้คนอื่นดูแลทอดทิ้ง
แนวทางการดูแลรักษา
แนวทางการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน อาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้ง ครอบครัว ครู และบุคลากรสาธารณสุข การดูแลรักษาประกอบด้วย 1) เสริมสร้างศักยภาพครอบครัว
ครอบครัวควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และแนวทางช่วยเหลือ มีทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสม และมีเจตคติเชิงบวกต่อตัวเด็ก ควรมองว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน
2) การใช้ยา
ในปัจจุบัน การใช้ยาถือว่าเป็นมาตรฐานการรักษา ยาที่ใช้มีความปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างดีขึ้น
3) การปรับพฤติกรรม
การจัดการกับปัญหาพฤติกรรม โดยใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาในเด็กลงได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดอุปสรรคในการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กสามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆได้นานขึ้น รู้จักการตั้งใจฟังคำสั่งที่มอบหมายให้ทำ รู้จักการรอคอย
การชมเชย หรือให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการตัดสิทธิ หรืองดกิจกรรมที่เด็กชอบ จะเป็นวิธีการที่ได้ผลดี 4) การช่วยเหลือด้านการเรียนรู้
เด็กสามารถร่วมเรียนในชั้นเรียนปกติได้ แต่ควรมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งกระตุ้นมากเกินไป ควรนั่งเรียนด้านหน้า ไม่ควรนั่งใกล้หน้าต่างหรือประตู เมื่อเด็กเริ่มเบื่อ ให้ลุกเดินบ้าง เช่น เข้าห้องน้ำ ลบกระดาน เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่เหมาะสมกับเด็ก คือ ห้องเรียนต้องค่อนข้างสงบไม่สับสนวุ่นวาย และไม่มีสิ่งกระตุ้นมาก มีระเบียบกำหนดกิจกรรมที่เด็กจะทำอย่างชัดเจน เป็นขั้นตอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น